บทที่ 4 e-Commerce
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Commerce คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย นอกจากนี้ ยังลดข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลาลงได้ด้วยการประยุกต์ใช้ e-Commerce Application
- การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
- การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E- Advertisement)
- การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
- การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
- รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
- การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Commerce)
โครงสร้างพื้นฐาน e-Commerce
- ระบบเครือข่าย (Network)
- ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
- การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
- การรักษาความปลอดภัย (Security)
การสนับสนุน e-Commerce
- การพัฒนาระบบงาน (E-Commerce Application Development)
- การวางแผนกลยุทธ์ (E-Commerce Strategy)
- กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce Law)
- การจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name Registration)
- การโปรโมทย์เว็บไซต์ (Website Promotion)
มิติของ e-Commerce
รูปที่ 4.1 มิติต่างๆ ของการพาณิชย์
- Brick - and - Mortar organization องค์กรที่ทำธุรกิจแบบ Offline คือ การนำเสนอขายสินค้าผ่านช่องทางการตลาดถึงมือผู้บริโภค สามารถจับต้องสินค้า ทดลองใช้ได้ แต่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่การขาย ที่สามารถทำได้แค่ในเมืองๆ หนึ่ง ไม่สามารถครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่อยู่กระจัดกระจาย
- Virtual Organization องค์กรที่นำเสนอขายสินค้าผ่านระบบเครือข่าย หรือขายแบบ Online
- Click - and - Mortar Organization องค์กรที่มีการผสมผสานการนำเสนอขาย ทั้งแบบ Offline ที่นำเสนอขายทางช่องทางการตลาดทั่วไป และ แบบ Online ที่นำเสนอขายแบบผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ประเภทของ e-Commerce
- กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Customer (B2C)
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
4. Customer-to-Customer (C2C)
5. Customer-to-Business (C2B)
6. Mobile Commerce
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
2. Business-to-Employee (B2E)
3. Government-to-Citizen (G2C)
4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
5. Exchange-to-Exchange (E2E)
6. E-Learning
e-Commerce Business Model
แบบจำลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
- สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
- ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
- ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
- ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์
- สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเตอร์เนตได้ง่าย
- ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
- ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
- ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
- ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
- ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
- ขาดกฏหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
- การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น