วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทที่3


บทที่ 3 e-Business strategy
กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้แบบจำลองทางธุรกิจเป็นจริงได้ ทำยังไงให้การสร้างมูลค่านั้นเป็นจริงได้ ทำยังไงที่จะส่งมูลค่านั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด ทำยังไงให้มันแตกต่าง การทำธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง



รูปที่ 3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ของ e-Business และกลยุทธ์อื่นๆ

กลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ SCM strategy และ Marketing/CRM strategy หรือรวบรวม ดึง เชื่อมกลยุทธต่างๆ ทั้งใน Intranet และ Extranet เข้าด้วยกัน ในการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถสนับสนุนและมีอิทธพลต่อการวางแผนกลยุทธขององค์กรทั้งหมดได้

A generic strategy process model

รูปที่ 3.2 รูปแบบการดำเนินกลยุทธ์ทั่วไป

องค์ประกอบของการวิเคราะห์สถานการณ์เชิงกลยุทธ์สำหรับ e-Business
  • ขั้นที่ 1 การวิเคราห์กลยุทธ จากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น สังคม, เศรษฐกิจ, กฎหมาย เป็นต้น และวิเคราห์จากทรัพยากรณ์ภายใน เช่น การวิเคราะห์ SWOT, การวิเคราะห์อุปสงค์, การซื้อและความเป็นไปได้ของโอกาสและอุปสรรค
  • ขั้นที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์ของกลยุทธรวมทั้งวิสัยทัศน์และพันธกิจ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงความสามารถสู่การประยุกต์ใช้
  • ขั้นที่ 3 การกำหนดกลยุทธ ประเมิน และคัดเลือกกลยุทธ ประกอบไปด้วย 6 หลักที่เข้ามาช่วยในหารตัดสินใจทำแผนกลยุทธ ดังนี้
                        1. การลำดับความสำคัญ
                        2. การทำโมเดลธุรกิจ
                        3. การปรับโครงสร้างพื้นที่ทางการตลาด
                        4. การพัฒนาตลาดและสินค้า
                        5. การวางตำแหน่งและปรับเปลี่ยน
                        6. การปรับโครงสร้างองค์กร
  • ขั้นที่ 4 การนำกลยุทธไปใช้ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุม ดังนี้
                        1. การวางกลยุทธด้านการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจ
                        2. การกางกลยุทธด้านการตลาดอิเล็คทรอนิกส์
                        3. การวางแผน การกำหนดและปรับเปลี่ยนการจัดการ
                        4. การวิเคราะห์และออกแบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
                        5.การปรับปรุง บำรุงรักษา และการควบคุม

Dynamic e-Business strategy model

รูปที่ 3.3 ตัวอย่างกลยุทธ์แบบ Dynamic e-Business

เริ่มจากการนำกิจกรรมเข้ามาสู่กระบวนการสร้างองค์ความรู้และประเมินความสามารถ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกสู่การออกแบบเป้าหมายธุรกิจ ให้ได้วัตถุประลงค์เพื่อไปสร้างเป็นแบบพิมพ์เขียว (การวางแผนแอพพลิเคชั่นต่างๆ) และจัดลำดับความสำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแอพพลิเคชั่นและการนำไปใช้งาน การติดตามผลและส่งข้อมูล Feedback กลับไปยังกระบวนการหรือขั้นตอนแรก เพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น